ประเทศไทยมีพันธบัตรรัฐบาลประเภท Sustainability เพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นครั้งแรก
ถ้าให้อธิบายว่า พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร?
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ตราสารที่ผู้ถือ มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ของรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรไปใช้ในโครงการต่าง ๆ
และรัฐบาลจะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ตามเวลาที่กำหนด
แล้วรู้หรือไม่ เวลานี้ประเทศไทยก็มีสิ่งที่เรียกว่า “Sustainability Bond” หรือ “พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน” แล้ว
แล้ว Sustainability Bond ที่ว่านี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?
Sustainability Bond หรือ “พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน”
เป็นพันธบัตรที่ใช้ในการระดมทุนจากบริษัท สถาบันการเงิน และนักลงทุนรายใหญ่
โดยเงินที่ได้ จะถูกนำไปใช้เฉพาะแค่ด้าน “อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคม”
ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลที่เราคุ้นเคย ที่เป็นการระดมเงินไปลงทุนในหลากหลายด้าน
โดย Sustainability Bond จะแตกต่างจากพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
และพันธบัตรเพื่อสังคม (Social Bond) ตรงที่เป็นการระดมทุนเพื่อไปลงทุน
ทั้งในโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคม
Sustainability Bond มีการออกครั้งแรก โดย Lloyds Bank ในประเทศอังกฤษ ในปี 2557 มูลค่ารวม 250 ล้านปอนด์
โดยเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ ถูกนำไปสนับสนุนธุรกิจ SMEs ในกลุ่มเกษตรกรรมและธุรกิจให้บริการสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ เช่น สถานบริการสุขภาพ และการผลิตพลังงานทดแทน
ซึ่งผลคือ ธุรกิจ SMEs ในอังกฤษเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมีส่วนช่วยให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
จากการพัฒนาของตลาดตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคม
หลาย ๆ ประเทศเองก็ได้เริ่มออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
โดยในปี 2559 ประเทศโปแลนด์ออก Green Bond เป็นประเทศแรก
ตามมาด้วยอีกหลากหลายประเทศ โดยในปี 2563 ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่ออก Sustainability Bond
ในเดือน มิถุนายน 2563
ส่วนประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีมูลค่าคงค้างของ Green Bond สูงที่สุด 35,900 ล้านยูโร
หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.36 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ การระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรในลักษณะนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับโลก โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 มีจำนวนมากกว่า 250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับทั้งปี 2562 ที่มีมูลค่า 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
และในเดือนสิงหาคม 2563 ประเทศไทยก็มีการออกพันธบัตรประเภทนี้เช่นกัน
โดยการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ของประเทศไทยถือเป็นครั้งแรก
ในภูมิภาคอาเซียนที่มีพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนที่ออกโดยภาครัฐ ซึ่งมีกระทรวงการคลัง
โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้ดำเนินการและดูแล
พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนรุ่นแรกนี้ มีอายุ 15 ปี และมีการเสนอขายครั้งแรกที่วงเงิน 30,000 ล้านบาท
โดยพันธบัตรดังกล่าวมีผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญต่าง ๆ ให้ความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดียิ่ง โดยมียอดแสดงความจำนงลงทุนรวมกว่า 60,911 ล้านบาท และ
สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ที่ 1.585% ซึ่งต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรรัฐบาลแบบปกติ
ที่รุ่นอายุ 15 ปี ณ ขณะนั้น
ผลตอบรับที่ดีดังกล่าว ทำให้ สบน. ได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีวงเงินคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท และมีแผนที่จะออกพันธบัตรรุ่นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องให้เพื่อสร้างสภาพคล่องและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
เหตุผลหลักที่พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนได้รับความนิยมอย่างสูง
เนื่องมาจากพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำมาก
และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เราสามารถติดตามได้ว่าเงินที่เราซื้อพันธบัตรไปนั้น ถูกนำไปใช้ตามเป้าหมายของโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคมหรือไม่
เพราะรายละเอียดของการใช้เงินจะถูกเก็บบันทึกไว้โดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีการจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายและยอดเงินคงเหลือภายใต้การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ทำให้มั่นใจได้ว่าเงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า เม็ดเงินขนาดใหญ่ที่ได้จากการระดมทุนผ่านพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) นี้ ถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใดบ้าง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร
เงินระดมทุนที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)
จะถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคม (Social Project) และสิ่งแวดล้อม (Green Project)
โดยมีตัวอย่าง เช่น
- การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19
- การลงทุนพัฒนาพื้นที่และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
- การลงทุนจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาด้านการศึกษา
- การลงทุนในโครงการที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน
โดยวงเงิน 100,000 ล้านบาท ที่ระดมทุนได้มาจาก Sustainability Bond รุ่นปัจจุบัน ได้ถูกนำไปใช้ใน
1) โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) หรือ โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” วงเงิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งจัดเป็น
โครงการเพื่อสังคม ประเภทส่งเสริมการสร้างงาน (Employment Generation) และ
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
วงเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งจัดเป็นโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเภทการขนส่งพลังงานสะอาด
(Clean Transportation) เพราะมีวัตถุประสงค์หลักในการลดการจราจรติดขัดจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ชุดนี้ได้จดทะเบียนและขึ้นแสดงใน Luxembourg Green Exchange (LGX) ของตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg Stock Exchange: LuxSE) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่แสดงข้อมูลตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ตราสารหนี้เพื่อสังคม และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก
ซึ่งเป็นการจดทะเบียนตราสารครั้งแรกใน LuxSE ของประเทศไทยและแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและความเชื่อมั่นที่ได้รับจากระดับสากล
สำหรับในต่างประเทศ พันธบัตรประเภทนี้ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่รัฐบาลเป็นผู้ขายพันธบัตรเท่านั้น แต่จะมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอขายพันธบัตรประเภทดังกล่าว
รวมถึงภาคเอกชนเองที่ออกหุ้นกู้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้อีกด้วย
การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ที่พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนได้ถูกนำเสนอให้เป็นที่รู้จัก เพื่อนำเงินไปใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
จนถึงเป็นการสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจรวมถึงภาคเอกชนให้ความสำคัญกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
References
- http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2019/25012019.asp
- ข้อมูลสำหรับการใช้ทำสื่อประชาสัมพันธ์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
- เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
「lloyds bank」的推薦目錄:
- 關於lloyds bank 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於lloyds bank 在 綠色公民行動聯盟Green Citizens' Action Alliance Facebook 的最佳解答
- 關於lloyds bank 在 亞洲股色股香 Facebook 的最佳貼文
- 關於lloyds bank 在 Lloyds Bank - Home | Facebook 的評價
- 關於lloyds bank 在 Lloyds Bank - YouTube 的評價
- 關於lloyds bank 在 Extremely RARE Original 1951 Festival Of Britain 'Lloyds Bank ... 的評價
lloyds bank 在 綠色公民行動聯盟Green Citizens' Action Alliance Facebook 的最佳解答
今天是👏👏G-Times第三期出刊日👏👏,也是 #世界環境日,在這個特殊的日子,綠盟持續為各位帶來世界各地重要的氣候訊息
【綠盟嚴選🌿國際新訊】
延續歐盟上周公布的綠色振興預算案,過去這周「#綠色振興」在各國都有相當多的討論。本期G-Times將聚焦檢視大西洋的另外一個島國:#英國 🇬🇧。
在英國,綠色振興可說是近期最熱門的政策焦點之一,甚至連英國王儲查爾斯王子都公開呼籲企業與政府落實綠色振興,並認為這場疫情危機提供了我們反思經濟路徑、走向永續發展的「黃金機會(#GoldenOpportunity)」。
包括英國第三大銀行駿懋銀行(Lloyds Bank)、連鎖超市龍頭Tesco、英國西門子(Siemens)在內的207家英國企業與投資者發起聯合聲明,向首相Boris Johnson喊話,呼籲政府目前所制定的經濟振興方案應符合潔淨與公正轉型的價值,打造更具韌性的經濟。他們指出,具野心的低碳成長以及環境改善計畫,不僅能改善英國目前面臨的失業問題與日益嚴重的區域不平等,更可協助英國妥善應對未來的衝擊和氣候危機。
「作為在英國營運的企業,我們堅定重申:我們願意對氣候變遷採取行動,並致力創造更潔淨、更具競爭力與包容性的英國經濟」
這些企業建議,藉由目標明確的公共投資以及清晰的政策訊號如租稅獎勵以及碳稅(Carbon Pricing)等工具,可支持私部門的投資,驅動更多投資挹注於低碳創新、低碳基礎建設與產業,提升抵禦環境風險的韌性能力;亦建議政府聚焦支持那些最能促進永續成長、創造工作機會以及加速經濟復甦與低碳轉型的部門,包括建築營造與翻修、能效提升、低碳能源、交通建設等;此外也應確保接受紓困的企業在管理與營運策略上,與國家的氣候目標一致無違。
此外,英國的國家基礎建設委員會(National Infrastructure Commision) 也發布報告《預判、應對、復甦:韌性基礎建設系統》,建議英國各個部門之基礎建設應該採納新的韌性標準。
該份報告建議,為了預防日後難以預測的各種風險,包括氣候危機,政府應針對基礎建設訂定明確的韌性標準。該報告也提出了韌性改善的新框架,讓政府、管制機關與營運者得以據此協力預防及處理短期衝擊,該框架包含了六大關鍵,包括預判(#anticipate)、抵禦(#resist)、吸收(#absorb)、恢復(#recover)、調適(#adapt)以及轉型(#transform)。
英國國家基礎建設委員會主席John Armitt指出,「為了保衛我們社會所賴以維生的體系,任何參與基礎建設規劃的人,都應該妥善預防且準備應對未來的潛在挑戰」。英國環境署主席Emma Howard Boyd也表示「氣候危機意味著極端氣候事件對經濟所造成的衝擊將接踵而來,且日益頻繁。興建更具韌性的基礎建設,以及『更好地復甦(#BuildBackBetter)』,不僅可降低未來的風險,更可以創造經濟機會」。
📍回到台灣的情境,我們眼前同樣也存在著一個提升基礎建設韌性能力的機會。即將到來的立法院臨時會預計將處理前瞻基礎建設第二階段的預算籌編案,一旦通過,就意味著後續四年預算高達4000億的前瞻二階將進入細部的編列程序。如何妥善運用這筆預算,決定了台灣未來數十年面對全球氣候危機的調適能力,這是個絕佳的機會,讓我們將國家基礎建設引領向更為永續、韌性的方向。
---------------
【報導】國家基礎建設委員會呼籲引入「韌性標準」來強化英國基礎建設
https://reurl.cc/62e5o6
【報導】超過兩百家領航企業敦促英國政府制定潔淨、全面且韌性的振興方案
https://reurl.cc/b5ydNl
【報導】查爾斯王子表示,疫情大流行正是重置全球經濟的絕佳機會
https://reurl.cc/qd3a8E
【報導】英相Boris Johnson面臨各方壓力落實英國綠色振興
https://reurl.cc/NjEOpQ
【專欄】將GDP視為疫情後經濟振興的重點將是一個錯誤
https://reurl.cc/Y1nmjD
以上為本期G-Times內容,感謝你閱讀到這裡~
如果想更了解「綠色振興」,歡迎留言或私訊我們哦!
閱讀G-Times,讓你不再錯過國際新知👍
#內容挺艱深研究員還是一如既往爆字
#中小編不是作文小老師啊啊啊啊我容易嗎我
#催稿鯨鯊本期持續不用出場好開心
#GTimes
lloyds bank 在 亞洲股色股香 Facebook 的最佳貼文
🇬🇧英國銀行被小企業轟炸 超過10萬個企業申請快速貸款🇬🇧
英國財政大臣 瑞斯•薩納克 (Rishi Sunak) 在上周發布企業貸款計畫(BBLS) 以填補疫情度對企業影響的資金缺口。小企業可在第一年貸款5萬英鎊,第二年開始包刮2.5%利息。
💷 此貸款消息發布的1分鐘內,已有多達200間公司透過網路向英國銀行BARCLAYS 申請快速貸款。下午2點時,已有6000人申請。而BARCLAYS必須在幾分鐘內審核所有申請者,並將資金在24小時內匯到各申請者的帳戶。
💷 直到貸款消息發布當天的下午,另一間英國銀行HSBC已有3萬4500間企業申請;而蘇格蘭皇家銀行有3萬人申請;勞埃德銀行(Lloyds Bank) 也收到了2萬6500人的申請。
💷 昨日( 4日) ,勞埃德銀行(Lloyds Bank) 被指稱撥出的貸款金額過少。為此,勞埃德銀行老闆 安東尼奧(Antonio Horta-Osorio) 承認此事,並說到: 我會是 (所有英國銀行裡) 起頭最慢的。然而,當這次危機結束,銀行們就是整篇故事的核心,訴說著我們如何重啟經濟和熬過這次的危機。
lloyds bank 在 Lloyds Bank - YouTube 的推薦與評價
Welcome to the Lloyds Bank YouTube page. We are a bank that is dedicated to the needs of the people and businesses of Britain. A bank that focusses on the ... ... <看更多>
lloyds bank 在 Extremely RARE Original 1951 Festival Of Britain 'Lloyds Bank ... 的推薦與評價
Dec 27, 2021 - Extremely Rare ORIGINAL 1951 Festival of Britain 'Lloyds Bank/Ferguson Tractors' Advertising Print. This is a FABULOUS Rare Find with an ... ... <看更多>
lloyds bank 在 Lloyds Bank - Home | Facebook 的推薦與評價
We are a bank that is dedicated to the needs of the people and businesses of Britain. A bank that focusses on the things that really matter in life. ... <看更多>